วันนี้ (20 มีนาคม 2566) ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สถานการณ์ด้านพลังงานยังคงมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศ รวมทั้งส่งผลต่อราคาพลังงานในประเทศ โดยกระทรวงพลังงานยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เข้าร่วมกล่าวปาฐกถาในงาน The 1st Asia Zero Emission Community Ministerial Meeting (1st AZEC) ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรม New Otani กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยมีปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงพลังงานเข้าร่วมงาน
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายพิสุทธิ์ เพียรมนกุล) ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนกระทรวงพลังงานไทยในการเข้าร่วมการประชุมสมัชชาทบวงพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศครั้งที่ 13 (the 13th International Renewable Energy Assembly หรือ 13th IRENA Assembly) ณ กรุงอาบูดาบี สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อวันที่ 14-15 มกราคม 2566 ซึ่งเป็นการประชุมใหญ่ประจำปีในระดับรัฐมนตรีและผู้แทนระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับด้านนโยบายพลังงานของประเทศสมาชิก จำนวนกว่า 167 ประเทศ และสหภาพยุโรป รวมถึงเป็นการรวมตัวกันของผู้บริหารภาคเอกชน องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศด้านพลังงาน เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายพลังงานและหารือแนวทางการพัฒนาแนวนโยบาย/มาตรการที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาภาคพลังงานสะอาดเพื่อผลักดันการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของโลก ซึ่งในครั้งนี้ที่ประชุมมุ่งเน้นการหารือภายใต้แนวคิดหลัก “World Energy Transition – The Global Stocktake”
วันนี้ (28 ธันวาคม 2565) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา เพื่อถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา โดยมีคณะผู้บริหารสังกัดกระทรวงพลังงานเข้าร่วมในพิธี ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 อาคารบี ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์
กระทรวงพลังงานสรุปผลงานปี 2565 มีส่วนช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้ประชาชนรวมกว่า 280,000 ล้านบาท และยังกระตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านพลังงานอีกราว 260,000 ล้านบาท พร้อมชี้ทิศทางปี 2566 มุ่งเดินหน้าแผนงานด้านพลังงานใน 4 มิติ ทั้งสร้างความมั่นคงสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เสริมสร้างเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาองค์กรเพื่อให้บริการ ทั้งนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี ค.ศ. 2065
Back-To-Top